วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พืชสมุนไพร





ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz

วงศ์ : Acanthaceae

ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

ลักษณะ : ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาว โดคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone

พืชสมุนไพร




พลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle L.

วงศ์ : Piperaceae

ชื่อสามัญ : Betel Vine

ลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อใช้ยึดเกาะ ข้อโป่งนูน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-16 ซม. มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก แยกเพศ สีขาว ผล เป็นผลสด กลมเล็กเบียดอยู่บนแกน พลูมีหลายพันธุ์ เช่นพลูเหลือง พลูทองหลาง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับลมและทาแก้ลมพิษ โดยใช้ 3-4 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสาร chavicol และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ชาเฉพาะที่ สามารถบรรเทาอาการคันและฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย จึงมีการพัฒนาตำรับยาขี้ผึ้งผสมสารสกัดใบพลูขึ้นเพื่อใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด

พืชสมุนไพร




ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica Less.

วงศ์ : Compositae

ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane

ชื่ออื่น : ขลู่ หนวดงั่ว หนงดงิ้ว หนวดงัว หนวดวัว

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันห่าง ๆ ดอกช่อ ออกที่ยอดและซอกฟัน กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร การทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงทั้งต้นมีฤทธิ์ขับปัสสาวะมากว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (hydrochlorothiazide) และมีข้อดีคือสูญเสียเกลือแร่น้อยกว่า

พืชสมุนไพร




สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus Merr.

วงศ์ : Bromeliaceae

ชื่อสามัญ : Pineapple

ชื่ออื่น : ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด บ่อนัด มะขะนัด มะนัด ลิงทอง หมากเก็ง

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอก ช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เนื้อผลเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ เหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว พบว่าลำต้น และผลมีเอนไซม์ย่อยโปรตีน ชื่อ bromelain ใช้เป็นยาลดการอักเสบและบวมจากการถูกกระแทกบาดแผล หรือการผ่าตัด โดยผลิตเป็นยาเม็ดชื่อ Ananase Forte Tablet

พืชสมุนไพร




หญ้าคา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica Beauv.

วงศ์ : Gramineae

ชื่อสามัญ :

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.3-0.9 เมตร มีเหง้าใต้ดิน รูปร่างยาวและแข็ง ใบ เดี่ยว แทงออกจากเหง้า กว้าง 1-2 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตรขอบใบคม ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อยอยู่รวมกันแน่น สีเงินอมเทาจาง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้รากและเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะแดง บำรุงไต ขับระดูขาว มีการศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง พบว่าได้ผลเฉพาะน้ำต้มส่วนราก


พืชสมุนไพร




หญ้าหนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon grandiflorus Bolding

วงศ์ : Labiatae

ชื่อสามัญ : Cat's Whisker

ชื่ออื่น : พยับเมฆลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาด์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

พืชสมุนไพร




อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.

วงศ์ : Gramineae

ชื่อสามัญ : Sugar-cane

ชื่ออื่น : อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูงความยาวของข้อและสีของลำต้น

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่ม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ มีรายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง