วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พืชสมุนไพร





ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz

วงศ์ : Acanthaceae

ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

ลักษณะ : ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาว โดคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone

พืชสมุนไพร




พลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle L.

วงศ์ : Piperaceae

ชื่อสามัญ : Betel Vine

ลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อใช้ยึดเกาะ ข้อโป่งนูน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-16 ซม. มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก แยกเพศ สีขาว ผล เป็นผลสด กลมเล็กเบียดอยู่บนแกน พลูมีหลายพันธุ์ เช่นพลูเหลือง พลูทองหลาง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับลมและทาแก้ลมพิษ โดยใช้ 3-4 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสาร chavicol และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ชาเฉพาะที่ สามารถบรรเทาอาการคันและฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย จึงมีการพัฒนาตำรับยาขี้ผึ้งผสมสารสกัดใบพลูขึ้นเพื่อใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด

พืชสมุนไพร




ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica Less.

วงศ์ : Compositae

ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane

ชื่ออื่น : ขลู่ หนวดงั่ว หนงดงิ้ว หนวดงัว หนวดวัว

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันห่าง ๆ ดอกช่อ ออกที่ยอดและซอกฟัน กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร การทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงทั้งต้นมีฤทธิ์ขับปัสสาวะมากว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (hydrochlorothiazide) และมีข้อดีคือสูญเสียเกลือแร่น้อยกว่า

พืชสมุนไพร




สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus Merr.

วงศ์ : Bromeliaceae

ชื่อสามัญ : Pineapple

ชื่ออื่น : ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด บ่อนัด มะขะนัด มะนัด ลิงทอง หมากเก็ง

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอก ช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เนื้อผลเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ เหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว พบว่าลำต้น และผลมีเอนไซม์ย่อยโปรตีน ชื่อ bromelain ใช้เป็นยาลดการอักเสบและบวมจากการถูกกระแทกบาดแผล หรือการผ่าตัด โดยผลิตเป็นยาเม็ดชื่อ Ananase Forte Tablet

พืชสมุนไพร




หญ้าคา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica Beauv.

วงศ์ : Gramineae

ชื่อสามัญ :

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.3-0.9 เมตร มีเหง้าใต้ดิน รูปร่างยาวและแข็ง ใบ เดี่ยว แทงออกจากเหง้า กว้าง 1-2 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตรขอบใบคม ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อยอยู่รวมกันแน่น สีเงินอมเทาจาง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้รากและเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะแดง บำรุงไต ขับระดูขาว มีการศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง พบว่าได้ผลเฉพาะน้ำต้มส่วนราก


พืชสมุนไพร




หญ้าหนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon grandiflorus Bolding

วงศ์ : Labiatae

ชื่อสามัญ : Cat's Whisker

ชื่ออื่น : พยับเมฆลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาด์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

พืชสมุนไพร




อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.

วงศ์ : Gramineae

ชื่อสามัญ : Sugar-cane

ชื่ออื่น : อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูงความยาวของข้อและสีของลำต้น

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่ม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ มีรายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง

พืชสมุนไพร





กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

วงศ์ : Malvaceae

ชื่อสามัญ : Roselle

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล 3 กรัมในน้ำ 300 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง

พืชสมุนไพร




เทียนบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens balsamina L.

วงศ์ : Balsaminaceae

ชื่อสามัญ : Garden Balsam

ชื่ออื่น : เทียนดอก เทียนสวน

ลักษณะ : พรรณไม้พวกคลุมดิน ลำต้นจะอุ้มน้ำ ลำต้นจะไม่ตั้งตรงขึ้นไป จะเอียงเล็กน้อย เปราะง่าย ใบมีลักษณะมนรี ปลายแหลม ดอกนั้นจะมีหลายสี เข่น สีชมพู สีแดง ส้ม และขาว เป็นดอกเดี่ยว จะออกติดกันช่อหนึ่ง อาจะจะมี 2-3 ดอก กลีบดอกจะซ้อน ๆ กันเป็นวงกลม มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบด้านล่างงอเปราะ มีจะงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็ก-ยาว ปลายโค้งขึ้น ขนาดดอก 3-6 ซม.

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ใช้รักษาฝี แผลพุพอง ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ 1 กำมือ ตำละเอียดพอกฝี หรือคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพองวันละ 3 ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่น ๆ )

พืชสมุนไพร




ไพล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber purpureum Roscoe

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอก ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง รูปกลม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ยาภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่าในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบและบวม จึงมีการผลิตยาขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์สามารถทากันยุงได้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl) veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใช้ผงไพล กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด สรุปว่าให้ผลดีทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดเฉียบพลันและเรื้อรัง

พืชสมุนไพร



พญาปล้องทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacantus nutans (Burm.) Lindau

วงศ์ : Acanthaceae

ชื่ออื่น : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องคำ พญาปล้องดำ พญายอ เสลดพังพอน เสลดพังพอนตัวเมีย

ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกะจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบ สีเขียว ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดใบสดด้วย n-butanol สามารถลดการอักเสบได้ มีการเตรียมเป็นทิงเจอร์เพื่อใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน กรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรีนเท่าตัว

พืชสมุนไพร





บัวบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban

วงศ์ : Umbelliferae

ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort/Tiger Herbal

ชื่ออื่น : ผักแว่น ผักหนอก

ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำต้มใบสดดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์ คือ กรด madecassic, กรด Asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดด้วย

พืชสมุนไพร




ฟักทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Decne.

วงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อสามัญ : Pumpkin

ชื่ออื่น : หมากอึ (ภาคอีสาน) มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า ภาคใต้

ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมมน ผิวเป็นร่องตามความยาว มีขนอ่อน ๆ มีหนวดสำหรับยึด เกาะยึดบริเวณข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับกัน โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนทั้ง 2 ด้านของตัวใบดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายระฆังหรือกระดิ่งออกบริเวณง่ามใบผลมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นพูเล็ก ๆ โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟู ๆ มีรูปร่างคล้ายไข่ แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : เนื้อฟักทองประกอบด้วยแป้ง โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า - แคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ เมล็ดมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง รวมทั้งแป้ง โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine) เป็นสารสำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี นอกจากนั้น ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา ตับและไต เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม รากช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด

พืชสมุนไพร




มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.

วงศ์ : Ebenaceae

ชื่อสามัญ : Ebony tree

ชื่ออื่น : ผีเผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มักเกลือ (เขมร-ตราด)

ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ผลดิบสด-ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้หลายชนิด ถ่ายพยาธิปากขอได้ดีที่สุด เด็กอายุ 10 ปีใช้ 10 ผล ผู้ที่อายุมากกว่า 10 ปี ให้เพิ่มจำนวนขึ้น 1 ผลต่อ 1 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 25 ผล คือผู้ที่อายุ 25 ปีขึ้นไปกิน 25 ผลเท่านั้น ล้างให้สะอาด ตำพอแหลก กรองเอาเฉพาะน้ำผสมหัวกะทิ 2 ช้อนชาต่อมะเกลือ 1 ผล กินครั้งเดียวให้หมดตอนเช้ามืด ก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง หลังจากนี้ 3 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายให้กินยาระบายดีเกลือ โดยใช้ผงดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ประมาณครึ่งแก้ว เพื่อถ่ายพยาธิ และตัวยาที่เหลือออกมา สารที่มีฤทธิ์คือ diospyrol diglucosideข้อควรระวัง 1: ผู้ที่ห้ามใช้มะเกลือได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี หญิงมีครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 6 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระผิดปกติบ่อยๆ และผู้ที่กำลังเป็นไข้ ในการเตรียมยาต้องใช้ผลดิบสด เตรียมแล้วกินทันที ไม่ควรเตรียมยาครั้งละมากๆ ใช้เครื่องบดไฟฟ้า จะทำให้ละเอียดมาก มีตัวยาออกมามากเกินไปข้อควรระวัง 2 : เคยมีรายงานว่าถ้ากินยามะเกลือขนาดสูงกว่าที่ระบุไว้ หรือเตรียมไว้นาน สารสำคัญจะเปลี่ยนเป็นสารพิษชื่อ diospyrol ทำให้จอรับภาพ และประสาทตาอักเสบ อาจตาบอดได้ ประโยชน์ด้านอื่นๆ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ประดับมุก ผล ให้สีดำ ใช้ยอ้มผ้าและแพรได้

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พืชสมุนไพร




ยอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.

วงศ์ : Rubiaceae

ชื่อสามัญ : Indian Mulberry

ชื่ออื่น : มะตาเสือ ยอบ้านลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำ ดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside

พืชสมุนไพร




มะแว้งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.

วงศ์ : Solanaceae

ชื่ออื่น :

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าน้ำสกัดผลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด แต่มีฤทธิ์น้อยและระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น พบสเตดรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลัก ในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

พืชสมุนไพร




มะแว้งเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.

วงศ์ : Solanaceae

ชื่ออื่น : แขว้งเคีย

ลักษณะ : ไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย

พืชสมุนไพร




ว่านหางจรเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill.

วงศ์ : Liliaceae

ชื่อสามัญ : Aloe

ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ลีกษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 30-80 ซม. อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลงสีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้งเรียวกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูก ในประเทศไทยมีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่าวุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรังตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออก ให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผลพันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่นแชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดดเป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบและเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสียคือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

พืชสมุนไพร





ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra Diels

วงศ์ : Menisspermaceaeชื่อสามัญ :

-ชื่ออื่น :

-ลีกษณะ : ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. ดอกช่อ ออกตามเถาและที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นผลกลุ่ม ผลย่อย รูปวงรี

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้รากต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด การทดลองพบว่าสารสกัดรากมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง

พืชสมุนไพร




ปลาไหลเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack

วงศ์ : Simaroubaceae

ชื่ออื่น : กรุงบาดาล คะนาง ชะนาง ตรึงบาดาล ตุงสอ แฮพันชั้น เพียก หยิกบ่อถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอน ไหลเผือก

ลีกษณะ : ไม้ยืนค้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสด รูปยาวรี

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้รากเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิดรวมทั้งไข้จับสั่น พบว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นสารที่มีรสขมได้แก่ eurycomalactone eurycomanol และ eurycomanone สารทั้งสามมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ จัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ควรศึกษาวิจัยต่อไป

พืชสมุนไพร




บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa ( L.) Miers ex Hook.f. & Thoms

วงศ์ : Menisspermaceae

ชื่ออื่น : เครือเขาฮอ จุ่งจิง เจตมูลหนาม เจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู

ลีกษณะ : ไม้เถาเลื้อยพัน มีลักษณะคล้ายชิงช้ามาก ต่างกันที่เถามีขนาดใหญ่กว่า มีปุ่มปมมากกว่า มีรสขมกว่าและไม่มีปุ่มใกล้ฐานใบ

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เถาเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยนำเถาสดขนาดยาว 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น หรือเมื่อมีไข้ นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมผลิตทิงเจอร์บอระเพ็ด เพื่อใช้แทน Tincture Gentian ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาธาตุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ การทดลองในสัตว์พบว่าน้ำสกัดเถาสามารถลดไข้ได้

พืชสมุนไพร




สีเสียดเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (L.f.) Willd.

วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ : Catechu Tree /Cutch Tree

ชื่ออื่น : สีเสียด สีเสียดแก่น สีเสียดเหลือง

ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 ซม. กิ่งมีหนามเป็นคู่ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 9-17 ซม. ใบย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกระบอกตรง กลีบดอกสีนวล ผลเป็นฝัก แบนยาว สีน้ำตาล

ประโยชน์ทางสมุนไพร : แก่นมีฤทธิ์ฝาดสมานเนื่องจากมีสารแทนนิน ตำรายาไทยใช้กินแก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกรักษาบาดแผลและโรคผิวหนัง ถ้าสับแก่นให้เป็นชิ้นเล็ก ต้มเคี่ยวไฟอ่อน ๆ กับน้ำ กรองเคี่ยวต่อจะได้น้ำยางสีดำ มีลักษณะเหนียว ปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้จนแห้งแข็ง เรียกกันว่าสีเสียดลาว มีรสฝาดมาก ใช้ปรุงยา หรือใช้ย้อมผ้าและฟอกหนังสัตว์

พืชสมุนไพร




ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.) Wall. ex Nees

วงศ์ : Acanthaceae

ชื่ออื่น : คีปังฮี (จีน) ฟ้าทะลายโจร หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง30-60 ซม.ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว4-8 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กกลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝักสีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ชาวจีนใช้ฟ้าทะลายเป็นยามาแต่โบราณ และมาเป็นที่นิยมใช้ในปะเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ โดยใช้เฉพาะใบหรือทั้งต้นบนดินซึ่งเก็บก่อนที่จะมีดอกเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ เป็นยาขมเจริญอาหาร การศึกษาฤทธิ์ลดไข้ในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์มีแนวโน้มลดไข้ได้ รายงานการใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดไม่มีตัว แสดงว่าฟ้าทะลายมีประสิทธิภาพในการรักษาเท่ากับเตตราซัยคลินแต่ในการรักษาอาการเจ็บคอนั้นมีรายงานทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลขนาดที่ใช้คือพืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูล ๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

พืชสมุนไพร




ทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.

วงศ์ : Punicaceaeชื่อสามัญ : Pomegranate

ชื่ออื่น : พิลา พิลาขาว มะก่องแก้ว มะเก๊าะ

ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอก เดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผล เป็นผลสด

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่ายาปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน

พืชสมุนไพร

http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs03-2.htm


ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.

วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ :Turmaric

ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs03-1.htm

กล้วยน้ำว้า


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L.


วงศ์ : Musaceaeชื่อสามัญ ; Bananaชื่ออื่น :


ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 2-4.5 เมตร มีลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันรอบต้นที่ปลายยอด รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ผิวใบเรียบมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า มีนวล ดอก ช่อเรียกว่า หัวปลีออกที่ปลายยอด ใบประดับหุ้มช่อดอกสีแดงหรือม่วง กลีบดอกสีขาว บาง ผล เป็นผลสด


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือหนึ่งผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบ หั่นเป็นแว่น ตากแห้งบดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs02-6.htm


แมงลัก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.


วงศ์ : Labiataeชื่อสามัญ : Hairy Basil


ชื่ออื่น : ก้อมก้อขาว มังลักลักษณะ : แมงลักมี


ลักษณะทรงต้น ใบ ดอก และผลคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่น ใบสีเขียวอ่อนกว่า กลีบดอกสีขาวและใบประดับสีเขียว


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยมักเรียกผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก เพราะเปลือกผลมีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกากเช่น ผัก ผลไม้ ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำ 1 แก้ว จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนนอน ถ้าผลแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง จากการทดลองพบว่าแมงลักทำให้จำนวนครั้งในการถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ นอกจากนี้ใบและต้นสดมีฤทธิ์ขับลม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs02-4.htm

มะขาม


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.


วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ : Tamarind


ชื่ออื่น : Tamarind


ลักษณะ : มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายไบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน


ประโยชน์ทางสมุนไพร : สรรพคุณทางยา
ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด
ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs02-3.htm


ชุมเห็ดเทศ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata L.


วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ Ringworm Bush


ชื่ออื่น : ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่


ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร แตกกิ่งออกด้สนข้าง ในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบ แบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ใบประดับ สีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม


ประโยชน์ทางสมุนไพร : รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก มีสาร แอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว การทดลองในสัตว์ และคน พบว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs02-2.htm

คูน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula L.


วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ : Golden Shower Tree/ Purging Cassia


ชื่ออื่น : ราชพฤกษ์ ลมแล้ง


ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด 1 เมล็ด หุ้มด้วยเนื้อสีดำเหนียว


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เนื้อหุ้มเมล็ดแก้ท้องผูก ขับเสมหะ ดอกแก้ไข้ เป็นยาระบาย แก่นขับพยาธิไส้เดือน พบว่าเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน จึงมีสรรพคุณเป็นยาระบาย โดยนำเนื้อหุ้มเมล็ดซึ่งมีสีดำเหนียว ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนน้ำ ดื่มก่อนนอน มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับชุมเห็ดเทศ

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs02-1.htm


ขี้เหล็ก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.


วงศ์ : Leguminosae


ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod


ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่


ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาวและหนา


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

พืชสมุนไพร

http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-14.htm
แห้วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus L.

วงศ์ : Cyperacear
ชื่อสามัญ : Nutgrassชื่ออื่น : หญ้าขนหมู

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัวกว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. ดอกช่อ คล้ายดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แตกแขนงเป็น 4-10 กิ่ง ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผลเป็นผลแห้ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ การทดลองในสัตว์พบฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ ลดความดันโลหิตและลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก a-cyperone นอกจากนี้พบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองด้วย

พืชสมุนไพร

http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-13.htm


เร่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่อสามัญ : Bustard cardamom, Tavoy cardamomชื่ออื่น : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

ลักษณะ : เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป

ประโยชน์ทางสมุนไพร : น้ำมันหอมระเหยในเมล็ดเร่วมีฤทธิ์เป็นยาขับลม ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้เมล็ดประมาณ 3 กรัม บดให้เป็นผงรับประทานวันละ 3 ครั้ง และช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ดีอีกด้วย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-12.htm

มะนาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.


วงศ์ : Rutacear

ชื่อสามัญ : Limeชื่ออื่น : ส้มมะนาว


ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

พืชสมุนไพร

http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-11.htm

ตะไตร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf

วงศ์ : Gramineae

ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grassชื่ออื่น : จะไคร ไคร

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-10.htm


ดีปลี


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt


วงศ์ : Piperaceaeชื่อสามัญ : Long Pepper


ชื่ออื่น :


ลักษณะ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์

พืชสมุนไพร





ขิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe


วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ : Ginger


ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย menthol, bornelo, fenchone, 6-shogoal และ6-gingerol menthol, มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ดได้แก่ , 6-shogoal และ6-gingerol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-8.htm

ข่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) Burtt



วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ :



ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง



ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม



ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย และ 1’-acetoxychavicol acetate ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นพิษในขนาดยา 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายาไทย จัดเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-7.htm


ขมิ้นชัน





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.





วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ : Turmaric





ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น





ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู





ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอา

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-6.htm


กานพลู





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia caryophyllum Bullock & Harrison





วงศ์ : Myrtaceaeชื่อสามัญ : Clove





ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่





ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-5.htm

กระเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.



วงศ์ : Labiatae



ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง



ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว



ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-4.htm

กระวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krervanh Pierre


วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ : Siam Cardamom, Camphor Seed

ชื่ออื่น : กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์



ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 1-3 เมตร ขึ้นในป่าชื้น บริเวณไหล่เขาสูง มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. ไม่มีก้านใบ ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดและพองเป็นกระเปาะ ออกดอกเมื่อต้นอายุ 2-3 ปี ผลกลมเกลี้ยง ขนาด 6-15 มม. เมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งและแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก 12-18 เมล็ด รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม โดยมีเยื่อบาง ๆ กั้น มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลเป็นยาขับลม รักษาโรคท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด โดยใช้ขนาด 1-2 กรัม ชงน้ำดื่มและใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-3.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.





วงศ์ : Alliaceae ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,





ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)





ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ





ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-2.htm


กระทือ





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.





วงศ์ : Zingiberaceae





ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)





ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง





ประโยชน์ทางสมุนไพร : มีฤทธิ์ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้น การหลั่งน้ำลาย และเพิ่มความอยากอาหาร โดยใช้หัวหรือเหง้าสด ขนาดประมาณหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟพอสุกตำกับ น้ำปูนใสแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม

พืชสมุนไพร


http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01-1.htm

กระชาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.


วงศ์ : Zingiberaceaeชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์


ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการสมัคร blogger.com

วิธีขั้นตอนการสมัคร Blogger.com
วิธีขั้นตอนการสมัคร blogger.comขั้นตอนแรกต้องสมัครใช้ G-Mail ก่อนครับขั้นตอนการสมัครใช้บริการฟรีบล็อกที่ http://www.blogger.comเมื่อคุณเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com คุณก็จะพบกับหน้าแรกหน้าตาแบบนี้ครับ



ผู้ให้บริการเข้าว่าไว้ ว่าคุณสามารถสร้างเว็บบล็อกได้ง่าย ๆ ภายใน 3 ขั้นตอนเท่านั้นครับและเขาอธิบายทุกขั้นทุกตอนเป็นภาษาไทย (หมู ๆ เลยครับแบบนี้)เมื่อคุณพร้อมแล้วคุณก็คลิกที่ “สร้างบล็อกของคุณทันที” ได้เลยครับ

เข้าสู่ขั้นตอนที่ 1 แล้วนะครับให้คุณกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ลงไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่อยู่อีเมล , ป้อนรหัสผ่าน, ชื่อที่แสดง, รหัสยืนยัน (ดูดีๆครับจะได้กรอกไม่ผิด) ,การยอมรับข้อตกลงต่าง ๆกรอกทุกอย่างเีรียบร้อย คลิกที่ “ดำเนินการต่อ”



เข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 ตั้งชื่อเว็บบล็อกของคุณอยากให้บล็อกของคุณมีชื่ออะไรก็ัจัดไปเลยครับ (แต่ถ้านึกไม่ออก ลองดูแนวทางในการตั้งชื่อบล็อก ได้ที่นี่)url : บล็อกของคุณจะมีลักษณะแบบนี้ครับ http://ชื่อที่คุณตั้ง.blogsport.comกรอกทุกอย่างครบถ้วนเรียบร้อย คลิกที่ “ดำเนินการต่อ”



เข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 กว่า ๆ แล้วครับ (ยังไม่สาม)ให้คุณเลือกแม่แบบ (Template) ที่คุณต้องการ ชอบหน้าตาแบบไหน สีอะไรก็เลือกเลยครับเลือกแม่แบบที่้ต้องการได้แล้ว คลิกที่ “ดำเนินการต่อ”


ถ้าทุกอย่างเีรียบร้อยดี ไม่มีอะไรผิดพลาด คุณก็จะได้พบเจอกับหน้านี้ครับ




เขาบอกว่า บล็อก ของคุณถูกสร้างขึ้นแล้วเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสมัครใช้บล็อกฟรีกับ blogger.com ครับให้คุณคลิกที่ “เริ่มสร้างเนื้อหา”
ขั้นสุดท้ายก็คือการเพิ่มเนื้อหาลงในบล็อกของคุณครับ





เพียงแค่นี้ คุณก็มีบล็อกฟรี กับ blogger.com เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ